วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558



การแบ่งเวลา ยุคสมัย และศักราช

                การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีการระบุเวลาเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นๆ โดยระบุเป็นปีศักราช จุดเริ่มต้นของศักราชที่ ๑ จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้
               

. การนับปีศักราชแบบสากล
                                . คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. ๑ สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)



                                . ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. ๑ เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช ๑๑๖๕ หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย ๑๑๒๒ เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ ๓๒ ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก ๑ ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช
              



  . การนับศักราชแบบไทย
                                . พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๕๕ แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. ๑ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑




                                . มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช ๖๒๒ (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. ๖๒๒)


                               . จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. ๑๑๘๒ และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.) แทน



                                . รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็น ร.ศ. ๑ และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
              



  . การเทียบศักราช
                                การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น  ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้วแต่กรณี
                หลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้
                                พุทธศักราช          มากกว่า         คริสต์ศักราช              ๕๔๓  ปี
                                พุทธศักราช          มากกว่า         มหาศักราช                ๖๒๑  ปี
                                พุทธศักราช          มากกว่า         จุลศักราช                  ๑๑๘๑  ปี
                                พุทธศักราช          มากกว่า         รัตนโกสินทร์ศก         ๒๓๒๔ ปี
                                พุทธศักราช          มากกว่า         ฮิจเราะห์ศักราช         ๑๑๒๒  ปี
                การเทียบศักราชในระบบต่างๆ สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เป็นศักราชแบบเดียวกัน ได้ดังนี้
                                ม.ศ. + ๖๒๑      =   พ.ศ.                พ.ศ.๖๒๑   =    ม.ศ.
                                จ.ศ. + ๑๑๘๑   =    พ.ศ.            พ.ศ. ๑๑๘๑    =     จ.ศ.
                                ร.ศ. + ๒๓๒๔   =     พ.ศ.           พ.ศ. ๒๓๒๔   =     ร.ศ.
                                ค.ศ. + ๕๔๓     =     พ.ศ.           พ.ศ. ๕๔๓     =     ค.ศ.
                                ฮ.ศ. + ๑๑๒๒    =    พ.ศ.           พ.ศ. ๑๑๒๒    =     ฮ.ศ.
                จากพุทธศักราช (พ.ศ.) เปลี่ยนเป็นคริสต์ศักราช (ค.ศ.)  ให้นำ พ.ศ. ลบ ๕๔๓   ตัวอย่างเช่น พ.ศ. ๒๕๔๙ เปลี่ยนเป็น ค.ศ. โดยนำ ๕๔๓ มาลบออก  ( ๒๕๔๙๕๔๓ ) ปี ค.ศ. ที่ได้คือ ๒๐๐๖
                จากคริสต์ศักราชเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ ค.ศ. บวก ๕๔๓   ตัวอย่างเช่น ค.ศ. ๒๐๐๔ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๕๔๓ มาบวก  ( ๒๐๐๔ + ๕๔๓ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๕๔๗
                จากจุลศักราชเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ จ.ศ. บวก ๑๑๘๑   ตัวอย่างเช่น จ.ศ. ๑๑๓๐ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๑๑๘๑ มาบวก  ( ๑๑๓๐ + ๑๑๘๑ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๓๑๑
                จากรัตนโกสินทร์ศกเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ ร.ศ. บวก ๒๓๒๔   ตัวอย่างเช่น ร.ศ. ๑๓๒ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๒๓๒๔ มาบวก  ( ๑๒๓ + ๒๓๒๔ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๔๕๖
               

การนับทศวรรษ  ศตวรรษและสหัสวรรษ
                                ทศวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ ๑๐ ปี
                                ศตวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ ๑๐๐ ปี
                                สหัสวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ ๑,๐๐๐ ปี


วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย


ประโยชน์ของประวัติศาสตร์ 
       
         ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียน ช่วยให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติ มีความตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านต่างๆ ช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษยชาติที่กว้างขวางออกไป ฝึกให้คนรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการทำนายอนาคต


การแบ่งยุคประวัติศาสตร์


        
  ยุคก่อนประวัติศาสตร์

  •  ยุคหิน แบ่งเป็น 3 ยุค คือ


       1.ยุคหินเก่า มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินอย่างหยาบๆ ด้วยการกระเทาะให้เป็นรูปร่างและมีคม ดำรงชีวิตด้วยการเก็บกินจากธรรมชาติ อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ



                                                                       

         2.ยุคหินกลาง ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เครื่องมือมีความประณีต มีมากแบบมากชนิดขึ้น เริ่มมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเฝ้าที่อยู่อาศัย




        3.ยุคหินใหม่ ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล รู้จักขัดเกลาเครื่องมือหินให้แหลมคมและเรียบร้อยขึ้น รู้จักนำกระดูกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ และที่สำคัญคือรู้จักเลี้ยงปศุสัตว์และทำการเพาะปลูก




  • ยุคสำริด มนุษย์รู้จักผสมดีบุกกับทองแดงเป็นทองสำริด ยุคสำริดเริ่มขึ้นประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้พบโลหะอื่นที่ราคาถูกและมีประสิทธิภาพกว่า คือ เหล็ก และในยุคสำริดนี้มนุษย์รู้จักใช้แรงงานสัตว์ในการไถนาและชักลาก รู้จักการควบคุมแหล่งน้ำด้วยการชลประทานและที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้




  • ยุคเหล็ก ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการนำเหล็กมาใช้ทำเครื่องมือและอาวุธ




สมัยประวัติศาสตร์
    1. สมัยโบราณ เริ่มเมื่อประมาณ 5,000 – 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงประมาณริสต์ศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกตามบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ต่างๆ เช่น แม่น้ำไนล์ ยุเฟรติส-ไทกริส สินธุ และฮวงโห
    2. สมัยกลาง เป็นสมัยที่อาณาจักรโรมันกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณอารยธรรมโบราณทางตะวันออกใกล้แหลมบอลข่าน และกว่าครึ่งของยุโรปตะวันตกได้แตกสลายไป อนารยชนเผ่าต่างๆ เข้าครอบครองแทนที่ความเจริญรุ่งเรือง ที่สืบเนื่องกันมาหลายพันปีได้เสื่อมสลายลงยุโรป กลับตกอยู่ในสภาพที่ต่ำกว่าเดิมในด้านอารยธรรม จนมีการให้ชื่อยุคต่อมาว่ายุคมืด
    3. สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์มิได้มีความเห็นตรงกันตั้งหมดว่าควรถือเอาปรากฎการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ บางคนถือเอาการปฎิรูปศาสนาเป็นการเริ่มสมัยใหม่ของยุโรป แต่นักประวัติศาสตร์คนอื่นอาจยึดเอาปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียแก่พวกเตอร์ก เป็นปีสิ้นสุดของสมัยกลาง แต่โดยทั่วไปถือเอาคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน