วันอาทิตย์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2558




อาณาจักรโบราณในดินแดนประเทศไทย


อาณาจักรโบราณในภาคกลาง     
        1) อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) เป็นอาณาจักรสมัยประวัติศาสตร์ที่มีหลักฐานแน่นนอนแห่งแรกบนผืนแผ่นดินไทย เรื่องราวของทวารวดีปรากฏอยู่ในบันทึกการเดินทางของหลวงจีนอี้จิง ที่เรียกชื่อในบันทึกว่า “โถ-โล-โป-ตี้” ตั้งอยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและอาจมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐม เพราะพบเหรียญที่นครปฐมมีจารึกภาษาสันสกฤตว่า “ศรีทวารวตีศวรปุณย” แปลว่า “การบุญของผู้ใหญ่ศรีทวารวดี” ในการขุดค้นทางโบราญคดีที่เมืองนครชัยศรี (นครปฐม) ได้พบหลักฐานสมัยทวารวดีจำนวนมาก เช่น ธรรมจักรศิลา พระพุทธรูปศิลาขนาดใหญ่ประทับนั่งห้อยพระบาทปางแสดงธรรมรวมถึงโบราญสถานขนาดใหญ่         นอกจากนี้ยังมีการค้นพบจารึกโบราณที่เขียนด้วยภาษามอญได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ศิลปวัฒนธรรมตลอดจนแบบแผนในการปกครองจากอินเดีย เกิดการผสมผสานจนเป็นอารยธรรมทวารวดีที่แพร่หลายไปยังภูมิภาคต่างๆของไทย ทางด้านศาสนาได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนาโดยเฉพาะนิกายเถรวาทจนทำให้ทวารวดีกลายเป็นอาณาจักรของชาวพุทธให้ความสำคัญต่อการทำบุญ ทั้งสถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญในสมัยทวารวดีและยังปรากฏให้เห็นจนปัจจุบัน คือ พระปฐมเจดีย์(องค์เก่า) ที่จังหวัดนครปฐม
       2) อาณาจักรละโว้(พุทธศตวรรษที่12-18) ศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลพบุรีในปัจจุบัน ละโว้เป็นเมืองสำคัญหนึ่งในสมัยทวารวดี ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแม่น้ำสำคัญ 3 สายไหลผ่านคือ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรีทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ และมีเส้นทางติดต่อกับเมืองในลุ่มแม่น้ำป่าสัก ที่ราบสูงโคราช และเขตติดต่อกับทะเลสาบเขมร เป็นศูนย์กลางการติดต่อระหว่างชุมชนโดยรอบ ส่งผลให้ละโว้กลายเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่มีเศรษฐกิจดี เมื่อพวกขอมหรือเขมรขยายอิทธิพลเข้ามาในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ละโว้ได้กลายเป็นเมืองประเทศราชของขอมและได้รับอารยธรรมของขอมด้วยด้านเศรษฐกิจ อาชีพสำคัญของชาวละโว้คือการเกษตร เพรามีพื้นที่อุดมสมบูรณ์และมีการติดต่อค้าขายกับชุมชนต่างถิ่น เช่น จีน อินเดีย หลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อค้าขาย เช่น เครื่องถ้วยจีน และละโว้ยังได้ส่งทูตไปยังเมืองจีน โดยจดหมายเหตุจีนในพุทธศตวรรษที่17-19 เรียกละโว้ว่า “เมืองหลอหู”ละว้าภายใต้อิทธิพลขอม พระพุทธศาสนานิกายมหายานและศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้เข้ามามีบทบาทในละโว้แทนพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท โดยเฉพาะในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (พ.ศ.1724-1861) มีการสร้างสถาปัตยกรรม และประติมากรรมตามความเชื่อในศาสนาเหล่านี้ เช่น พระปรางค์สามยอด ปรางค์แขก เทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร ------------------------------


อาณาจักรโบราณในภาคเหนือ
     
       1) อาณาจักรโยนกเชียงแสน(พุทธศตวรรษที่ 12-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเชียงแสน (อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย) เรื่องราวของอาณาจักรโยนกเชียงแสน ปรากฏอยู่ในตำนานสิงหนวัติกุมารและตำนานลวจังกราช กล่าวถึงเจ้าชายสิงหนวัติกุมาร ผู้สืบเชื้อสายเจ้านายไท จากมณฑลยูนนานทางตอนใต้ของจีน ได้อพยพผู้คนลงมาประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 มาก่อตั้งเมืองที่เชียงแสน ชื่ออาณาจักรโยนกเชียงแสน ต่อมาพวกขอมเข้ายึดครองอาณาจักรโยนกเชียงแสน และขับไล่ผู้ปกครองเดิมออกไป พระเจ้าพรหมกุมารเชื้อสายของกษัตริย์โยนกเชียงแสนสามารถกอบกู้เอกราช และสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่เวียงชัยปราการ แต่หลังพระเจ้าพรหม พวกขอมที่เมืองสะเทินในพม่ายกทัพมารุกราน พระเจ้าไชยสิริโอรสของพระเจ้าพรหมจึงพาผู้คนอพยพหนีมาสร้างเมืองใหม่ที่กำแพงเพชร จนกระทั่งในพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรโยนกเชียงแสนจึงถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนา    
       2) อาณาจักรหริกุญชัย (พุทธศตวรรษที่ 13-19) ตั้งอยู่ที่เมืองหริกุญชัยหรือจังหวัดลำพูนในปัจจุบัน ตำนานจามเทวีวงค์หรือตำนานเมืองหริกุญชัยกล่าวว่า ฤาษีวาสุเทพเป็นผู้สร้างเมืองหริกุญชัย และขอให้กษัตริย์ละโว้ส่งเชื้อสายพระวงศ์มาปกครอง ละโว้จึงส่งพระนางจามเทวีผู้เป็นพระราชธิดามาเป็นปฐมกษัตริย์แห่งหริกุญชัย จนถึงปลายพุทธศตวรรษที่ 17 พระอาทิตยราชได้ปกครองหริกุญชัย และได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองโดยเฉพาะการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงสร้างพระธาตุหริกุญชัย สร้างวัดทำให้บ้านเมืองมีความสงบสุข     
       3) อาณาจักรล้านนา(พุทธศตวรรษที่ 19-25) มีศูนย์อยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่(จังหวัดชียงใหม่) ผู้ก่อตังอาณาจักรล้านนา คือ พระยามังรายมหาราช(พ.ศ. 1804-1854) ซึ่งเดิมปกครองเมืองเชียงแสน ขณะนั้นในภาคเหนือมีอาณาจักรน้อยใหญ่หลายแห่ง เช่น หริกุญชัย เขลางค์ (ลำปาง) โยนกเชียงแสน พระยามังรายมหาราชสามารถปราบปรามและรวบรวมแว่นแค้วนต่างๆ ในภาคเหนือเข้าด้วยกันเป็นอาณาจักรล้านนาและตั้งราชธานีแห่งใหม่ขึ้นที่เวียงกุมกาม แต่ประทับอยู่ไม่นานก็ย้ายเมืองอยู่ที่เชียงใหม่ใน พ.ศ.1839 อาณาจักรล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองหลายด้าน ที่สำคัญดังนี้      3.1) ด้านภาษา ล้านนามีตัวอักษรใช้สามแบบ คือ อักษรธรรมล้านนาหรืออักษรตัวเมือง อักษรฝักขามที่ดัดแปลงมาจากตัวอักษรของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และอักษรขอมเมืองหรืออักษรไทยนิเทศ      3.2) ด้านการปกครอง สามารถขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางโดยรวบรวมหัวเมืองต่างๆเข้าเป็นส่วน หนึ่งของอาณาจักรล้านนาซึ่งปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มีกฎหมายที่ใช้ปกครองเรียกว่า “มังรายศาสตร์”      3.3) ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์จากสุโขทัยและพม่ามีการสังคายนาพระไตรปิฎกใน พ.ศ.2020 เป็นครั้งที่ 8 มีการสร้างวัดหลายแห่ง เช่น วัดเจดีย์หลวง วัดโพธารามมหาวิหาร(วัดเจดีย์เจ็ดยอด) เป็นต้น----------------------


อาณาจักรโบราณในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
      
       1) อาณาจักรโคตรบูรณ์(พุทธศตวรรษที่ 12-16) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครพนมมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ภาคตะวะนออกเฉียงเหนือ ตลอดจนดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงเรื่องราวของอาณาจักรโคตรบูรณ์ปรากฏอยู่ใน “ตำนานอุรังคธาตุ”ที่กล่าวถึงความเป็นมาของชุมชนในอาณาจักร และประวัติการสร้างพระธาตุพนม อาณาจักรโคตลบูรณ์ได้รับอิทธิพลจากอินเดียมีการปกครองโดยกษัตริย์นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทตามแบบทวารวดีและมีความเชื่อพื้นเมืองเรื่องการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการบูชาพญานาคศาสนสถานที่สำคัญของอาณาจักร คือ พระธาตุพนม      
       2) อาณาจักรอิศานปุระ(พุทธศตวรรษที่ 12-18) หรืออาณาจักรขอมรุ่งเรืองขึ้นในสมัยพระเจ้าอิศานวรมัน เรื่องราวของอาณาจักรอิศานปุระหรือเจนละ ปรากฏอยู่ในจดหมายเหตุจีนราชวงศ์ต่างๆและในยันทึกของราชทูตจีน ชื่อ โจว ต้ากวน เขียนบันทึกเรื่องราวของอาณาจักรเจนละไว้ในชื่อ “บันทึกว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของเจนละ” สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นยุคที่อาณาจักรขอมเป็นปึกแผ่นและเจริญรุ่งเรืองทางด้านศิลปะวิทยาการสูงสุด มีการสร้าง ศาสนสถานเป็นปราสาทหินขนาดใหญ่ขึ้นหลายแห่ง เช่น ปราสาทนครธม ปราสาทตาพรหม ปราสาทหินพิมายจังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี ปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น อาณาขอมได้เผยแพร่อารยธรรมไปยังรัฐที่อยู่ใกล้เคียงหลายด้าน ทั้งด้านการปกครอง ได้แก่ การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ความเป็นสมมติเทพของกษัตริย์ ระบบขุนนางการปกครองแบบจตุสดมภ์ และกฎหมายพระธรรมศาสตร์ด้านศาสนาและความเชื่อได้แก่ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พระพุทธศาสนานิกายอาจริยวาทหรือมหายาน ดังจะเห็นได้จากโบราณสถานและโบราณวัตถุ เช่น ปราสาทหิน เทวรูปพระโพธิ์สัตว์ ศิวลึงค์ พระพุทธรูปปางนาคปรก ความเชื่อเรื่องพญานาค เป็นต้น-------------------


อาณาจักรโบราณในภาคใต้

       1) อาณาจักรลังกาสุกะ (พุทธศตวรรษที่ 7-14) มีอาณาเขตควบคลุมพื้นที่ในจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา มีศูนย์กลางอยู่ที่อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี พัฒนาขึ้นมาจากการเป็นเมืองท่าสำคัญที่มีการติดต่อกับต่างชาติโดยเฉพีจนและ อินเดียแต่มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับจีนมากกว่าโดยส่งทูตไปเมืองจีนถึง 6 ครั้ง เป็นศูนย์กลางสำคัญของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่อำเภอยะรังจังหวัดปัตตานี พบประติมากรรมสำริดพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร และสถูปจำลองรูปทรงต่างๆจำนวนมาก
       2) อาณาจักรตามพรลิงค์ (พุทธศตวรรษที่ 13-18) มีศูนย์กลางอยู่ที่นครศรีธรรมราช มีหลักฐานที่กล่าวถึงตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 8 โดยเอกสารอินเดียโบราณกล่าวถึงอาณาจักรตามพรลิงค์ในชื่อ “ตมลิง” “ตัมพลิงค์” เอกสารจีนสมัยราชวงศ์ถัง เรียกว่า “ถ่ามเหร่ง”สมัยราชวงศ์ซ่งเรียกว่า “ต่านหม่าลิ่ง” ต่อมาเรียกว่า “อาณาจักรนครศรีธรรมราช”ด้านศาสนา พุทธศตวรรษที่ 18 พระเจ้าจันทรภานุศรีธรรมาโศกราชทรงยกทัพไปโจมตีลังกา 2 ครั้ง เพื่อแย่งชิงพระทันตธาตุจากลังกา ทำให้อิทธิพลของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท ลัทธิลังวงศ์และศิลปะแบบลังกาเข้ามาเผยแผ่และฝังรากลึกอยู่ในอาณาจักรนครศรีธรรมราช ศาสนวัตถุที่สำคัญ คือ พระบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราชพระพุทธรูปประทับยืนสำริดปางประธานธรรม ทำให้นครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางสำคัญของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนไทย ซึ่งพระสงฆ์จากนครศรีธรรมราชได้นำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ไปเผยแผ่ยังกรุงสุโขทัยตั้งแต่สมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช       
       3) อาณาจักรศรีวิชัย(พุทธศตวรรษที่ 13-19) มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองปาเล็มบังบนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย มีอิทธิพลครอบคลุมตั้งแต่เกาะชวาในอินโดนีเซีย ขึ้นมาถึงอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อนึ่ง มีนักวิชาการบางท่านเชื่อว่าศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ที่อำเภอไชยาด้านศาสนา ในระยะแรกอาณาจักรศรีวิชัยที่ไชยานับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดูและพระพุทธศาสนานิการมหายาน ต่อมานับถือพระพุทธศาสนานิการเถรวาทจากทวารวดี และพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์จากนครศรีธรรมราชดังปรากฏศาสนสถานและศาสนาวัตถุในศาสนาต่างๆ เช่น พระบรมธาตุไชยา อำเภอไชยา พระพุทธรูปปางนาคปรกสำริด ที่วัดหัวเวียงอำเภอไชยา เทวรูปพระโพธิ์สัตว์อวโลกิเตศวร วัดศาลาทึง อำเภอไชยา



ข้อมูลจาก http://www.baanmaha.com/community/threads/28285

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558



การแบ่งเวลา ยุคสมัย และศักราช

                การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ พบว่ามีการระบุเวลาเมื่อกล่าวถึงเหตุการณ์นั้นๆ โดยระบุเป็นปีศักราช จุดเริ่มต้นของศักราชที่ ๑ จะเริ่มนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์สำคัญอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคสมัยต่างๆ จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของศักราชต่างๆ ด้วย เพราะจะช่วยให้ทราบว่าในปีนั้นๆ มีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นบ้าง การนับปีศักราชนับว่าเป็น ภูมิปัญญาของมนุษย์สมัยโบราณ ศักราชมีทั้งแบบสากลและแบบไทย ดังนี้
               

. การนับปีศักราชแบบสากล
                                . คริสต์ศักราช หรือ ค.ศ. โดยใช้เหตุการณ์สำคัญทางคริสต์ศาสนาเป็นจุดเริ่มต้น เริ่มนับตั้งแต่ปีที่พระเยซูประสูติเป็นปี ค.ศ. ๑ สำหรับช่วงเวลาก่อนพระเยซูประสูติให้เรียกเป็น ก่อนคริสต์ศักราช (ก่อน ค.ศ. หรือ B.C = Before Christ)



                                . ฮิจเราะห์ศักราช หรือ ฮ.ศ. ฮิจเราะห์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การอพยพ   เป็นการนับศักราชในประเทศที่มีการนับถือศาสนาอิสลามโดยเริ่มนับ ฮ.ศ. ๑ เมื่อท่านนบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ตรงกับพุทธศักราช ๑๑๖๕ หากจะเทียบ ปีฮิจเราะห์ศักราชเป็นปีพุทธศักราช จะต้องบวกด้วย ๑๑๒๒ เพราะการเทียบรอบปีของฮิจเราะห์ศักราชและพุทธศักราช จะมีความคลาดเคลื่อนทุก ๆ ๓๒ ปีครึ่งของฮิจเราะห์ศักราชจะเพิ่มขึ้นอีก ๑ ปี เมื่อเทียบกับพุทธศักราช
              



  . การนับศักราชแบบไทย
                                . พุทธศักราช (พ.ศ.) เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา มีการใช้กันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และใช้กันอย่างเป็นทางการของประเทศไทย ครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๕๕ แทนรัตนโกสินทร์ศก ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. ๑ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้วครบ ๑ ปี เป็น พ.ศ. ๑




                                . มหาศักราช (ม.ศ.) นิยมใช้มากในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเภทศิลาจารึกและพงศาวดารต่าง ๆ ทั้งสมัยสุโขทัย และสมัยอยุธยาตอนต้น มหาศักราชถูกตั้งขึ้นโดยพระเจ้า กนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ กษัตริย์ผู้ครองอินเดีย โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช ๖๒๒ (มหาศักราชตรงกับ พ.ศ. ๖๒๒)


                               . จุลศักราช (จ.ศ.) เป็นศักราชที่ได้รับอิทธิพลจากพม่า โดยพระมหากษัตริย์ของพุกาม เริ่มใช้นับครั้งแรกในพม่า พ.ศ. ๑๑๘๒ และใช้แพร่หลายเข้าสู่อาณาจักรล้านนา โดยเริ่มภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปี ไทยนิยมใช้จุลศักราชในการคำนวณทางโหราศาสตร์ ใช้บอกปีในจารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดาร จนถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกาศยกเลิก และมีการใช้รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.) แทน



                                . รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.) เป็นศักราชที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   ทรงกำหนดใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๓๒๕ โดยเริ่มนับปีที่ได้มีการสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีใน พ.ศ. ๒๓๒๕ เป็น ร.ศ. ๑ และได้ประกาศยกเลิกใช้ในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
              



  . การเทียบศักราช
                                การนับศักราชที่แตกต่างกันจะทำให้เกิดความไม่ชัดเจนในการศึกษาประวัติศาสตร์ไทยและสากล ดังนั้น การเทียบศักราชให้เป็นแบบเดียวกัน จะช่วยให้สามารถศึกษาเรื่องราวประวัติศาสตร์ได้เข้าใจมากขึ้น  ตลอดจนทำให้ทราบถึงช่วงศักราชหรือช่วงเวลาเดียวกัน ในแต่ละภูมิภาคของโลกเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ศึกษาอย่างแท้จริง  จึงต้องมีการเทียบศักราช จากศักราชหนึ่งไปยังอีกศักราชหนึ่ง โดยคำนวณจากศักราชทั้งสองมีช่วงเวลาที่แตกต่างกันอยู่กี่ปี  แล้วนำไปบวกหรือลบแล้วแต่กรณี
                หลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคำนวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) มีดังนี้
                                พุทธศักราช          มากกว่า         คริสต์ศักราช              ๕๔๓  ปี
                                พุทธศักราช          มากกว่า         มหาศักราช                ๖๒๑  ปี
                                พุทธศักราช          มากกว่า         จุลศักราช                  ๑๑๘๑  ปี
                                พุทธศักราช          มากกว่า         รัตนโกสินทร์ศก         ๒๓๒๔ ปี
                                พุทธศักราช          มากกว่า         ฮิจเราะห์ศักราช         ๑๑๒๒  ปี
                การเทียบศักราชในระบบต่างๆ สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เป็นศักราชแบบเดียวกัน ได้ดังนี้
                                ม.ศ. + ๖๒๑      =   พ.ศ.                พ.ศ.๖๒๑   =    ม.ศ.
                                จ.ศ. + ๑๑๘๑   =    พ.ศ.            พ.ศ. ๑๑๘๑    =     จ.ศ.
                                ร.ศ. + ๒๓๒๔   =     พ.ศ.           พ.ศ. ๒๓๒๔   =     ร.ศ.
                                ค.ศ. + ๕๔๓     =     พ.ศ.           พ.ศ. ๕๔๓     =     ค.ศ.
                                ฮ.ศ. + ๑๑๒๒    =    พ.ศ.           พ.ศ. ๑๑๒๒    =     ฮ.ศ.
                จากพุทธศักราช (พ.ศ.) เปลี่ยนเป็นคริสต์ศักราช (ค.ศ.)  ให้นำ พ.ศ. ลบ ๕๔๓   ตัวอย่างเช่น พ.ศ. ๒๕๔๙ เปลี่ยนเป็น ค.ศ. โดยนำ ๕๔๓ มาลบออก  ( ๒๕๔๙๕๔๓ ) ปี ค.ศ. ที่ได้คือ ๒๐๐๖
                จากคริสต์ศักราชเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ ค.ศ. บวก ๕๔๓   ตัวอย่างเช่น ค.ศ. ๒๐๐๔ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๕๔๓ มาบวก  ( ๒๐๐๔ + ๕๔๓ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๕๔๗
                จากจุลศักราชเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ จ.ศ. บวก ๑๑๘๑   ตัวอย่างเช่น จ.ศ. ๑๑๓๐ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๑๑๘๑ มาบวก  ( ๑๑๓๐ + ๑๑๘๑ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๓๑๑
                จากรัตนโกสินทร์ศกเปลี่ยนเป็นพุทธศักราช  ให้นำ ร.ศ. บวก ๒๓๒๔   ตัวอย่างเช่น ร.ศ. ๑๓๒ เปลี่ยนเป็น พ.ศ. โดยนำ ๒๓๒๔ มาบวก  ( ๑๒๓ + ๒๓๒๔ปี พ.ศ. ที่ได้คือ ๒๔๕๖
               

การนับทศวรรษ  ศตวรรษและสหัสวรรษ
                                ทศวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ ๑๐ ปี
                                ศตวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ ๑๐๐ ปี
                                สหัสวรรษ คือ การนับระยะเวลาในรอบ ๑,๐๐๐ ปี


วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย


ประโยชน์ของประวัติศาสตร์ 
       
         ช่วยสนองความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องแทนการคาดเดา หรือความเชื่อถือที่ปราศจากหลักฐาน เป็นบันทึกประสบการณ์ของมนุษยชาติที่มีคุณค่าควรแก่การศึกษาเพื่อเป็นบทเรียน ช่วยให้เกิดความรักความภาคภูมิใจในชาติ มีความตระหนักในคุณค่าของมรดกด้านต่างๆ ช่วยให้รู้จักและเข้าใจในเรื่องของโลก และเรื่องของเพื่อนมนุษยชาติที่กว้างขวางออกไป ฝึกให้คนรู้จักใช้เหตุผลในการพิจารณาเหตุการณ์ต่างๆ ช่วยในการทำนายอนาคต


การแบ่งยุคประวัติศาสตร์


        
  ยุคก่อนประวัติศาสตร์

  •  ยุคหิน แบ่งเป็น 3 ยุค คือ


       1.ยุคหินเก่า มนุษย์รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินอย่างหยาบๆ ด้วยการกระเทาะให้เป็นรูปร่างและมีคม ดำรงชีวิตด้วยการเก็บกินจากธรรมชาติ อยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ



                                                                       

         2.ยุคหินกลาง ประมาณ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช เครื่องมือมีความประณีต มีมากแบบมากชนิดขึ้น เริ่มมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขเพื่อใช้ในการล่าสัตว์ และเฝ้าที่อยู่อาศัย




        3.ยุคหินใหม่ ประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสต์กาล รู้จักขัดเกลาเครื่องมือหินให้แหลมคมและเรียบร้อยขึ้น รู้จักนำกระดูกมาดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ และที่สำคัญคือรู้จักเลี้ยงปศุสัตว์และทำการเพาะปลูก




  • ยุคสำริด มนุษย์รู้จักผสมดีบุกกับทองแดงเป็นทองสำริด ยุคสำริดเริ่มขึ้นประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช สมัยนี้พบโลหะอื่นที่ราคาถูกและมีประสิทธิภาพกว่า คือ เหล็ก และในยุคสำริดนี้มนุษย์รู้จักใช้แรงงานสัตว์ในการไถนาและชักลาก รู้จักการควบคุมแหล่งน้ำด้วยการชลประทานและที่สำคัญที่สุดคือ มนุษย์ได้ประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นใช้




  • ยุคเหล็ก ประมาณ 1,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช มีการนำเหล็กมาใช้ทำเครื่องมือและอาวุธ




สมัยประวัติศาสตร์
    1. สมัยโบราณ เริ่มเมื่อประมาณ 5,000 – 3,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช จนถึงประมาณริสต์ศตวรรษที่ 5 ในช่วงเวลาดังกล่าวได้เกิดแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลกตามบริเวณลุ่มแม่น้ำใหญ่ต่างๆ เช่น แม่น้ำไนล์ ยุเฟรติส-ไทกริส สินธุ และฮวงโห
    2. สมัยกลาง เป็นสมัยที่อาณาจักรโรมันกว้างใหญ่ครอบคลุมบริเวณอารยธรรมโบราณทางตะวันออกใกล้แหลมบอลข่าน และกว่าครึ่งของยุโรปตะวันตกได้แตกสลายไป อนารยชนเผ่าต่างๆ เข้าครอบครองแทนที่ความเจริญรุ่งเรือง ที่สืบเนื่องกันมาหลายพันปีได้เสื่อมสลายลงยุโรป กลับตกอยู่ในสภาพที่ต่ำกว่าเดิมในด้านอารยธรรม จนมีการให้ชื่อยุคต่อมาว่ายุคมืด
    3. สมัยใหม่ เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา นักประวัติศาสตร์มิได้มีความเห็นตรงกันตั้งหมดว่าควรถือเอาปรากฎการณ์ใดเป็นจุดเริ่มต้นของยุคใหม่ บางคนถือเอาการปฎิรูปศาสนาเป็นการเริ่มสมัยใหม่ของยุโรป แต่นักประวัติศาสตร์คนอื่นอาจยึดเอาปีที่กรุงคอนสแตนติโนเปิลเสียแก่พวกเตอร์ก เป็นปีสิ้นสุดของสมัยกลาง แต่โดยทั่วไปถือเอาคริสต์ศตวรรษที่ 15 เพราะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน

วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2558



 ความรู้พื้นฐานทางประวัติศาสตร์
 ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์
                ประวัติศาสตร์  เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต  ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้  เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ  การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด  เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน
                ความสำคัญของประวัติศาสตร์ สามารถสรุปได้ดังนี้
                 1.  ประวัติศาสตร์ช่วยให้มนุษย์รู้จักตัวเอง   กล่าวคือ   ทำให้รู้บางสิ่งบางอย่างเกี่ยวกับขอบเขตของตน   ขณะเดียวกันก็รู้เกี่ยงกับขอบเขตของคนอื่น
                     2.  ประวัติศาสตร์ช่วยให้เกดความเข้าใจในมรดก   วัฒนธรรมของมนุษยชาติ   ความรู้   ความคิดอ่านกว้างขวาง   ทันเหตุการณ์   ทันสมัย   ทันคน   และสามารถเข้าใจคุณค่าสิ่งต่างๆในสมัยของตนได้
                    3.  ประวัติศาสตร์ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความระมัดระวัง   ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์   ฝึกฝนความอดทน   ความสุขุมรอบคอบ   ความสามารถในการวินิจฉัย   และมีความละเอียดเพียงพอที่จะเข้าใจปัญหาสลับซับซ้อน
                     4.  ประวัติศาสตร์เป็นเหตุการณ์ในอดีตที่มนุษย์สามารถนำมาเป็นบทเรียน   และประยุกต์ใช้ในกระบวนการแก้ไขปัญหาและวิกฤตการณ์ต่างๆ ให้เป็นไปตามหลักจริยธรรม  คุณธรรม ทั้งนี้เพื่อสันติสุขและพัฒนาการของสังคมมนุษย์เอง

ลักษณะและประเภทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์
                หลักฐานทางประวัติศาสตร์  หมายถึง  ร่องรอยของสิ่งที่มนุษย์ประดิษฐ์  สร้างสรรค์  รวมทั้งร่องรอยของพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในอดีต  และเหลือตกค้างมาถึงปัจจุบัน  ซึ่งสามารถใช้เป็นเครื่องนำทางในการศึกษา  สืบค้น  แสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยงกับเรื่องราวในอดีตของมนุษย์ได้ในระดับหนึ่ง
                หลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทยแบ่งออกเป็น  2   ประเภท  ตามแบบสากล คือ 
           1.  หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรได้แกจารึกบันทึกจดหมายเหตุร่วมสมัย   ตำนาน พงศาวดาร     วรรณกรรมต่างๆ  บันทึกความทรงจำ  เอกสารราชการ  หนังสือพิมพ์  กฎหมาย  งานวิจัย  งานพิมพ์ทางประวัติศาสตร์ เป็นต้น  (  ผนังถ้ำที่เป็นรูปวาดแต่สามารถแปลความหมายได้  จะถือว่าเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร  เช่น  ผนังขิงสุสานฟาโรห์  )


           2.  หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  ได้แก่  หลักฐานทางโบราณคดี  หลักฐานจากการบอกเล่าและสัมภาษณ์  หลักฐานด้านศิลปกรรม  สถาปัตยกรรม  นาฏกรรมและดนตรี  หลักฐานทางมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา  เช่น  ขนบธรรมเนียมประเพณี  คติความเชื่อ  วิถีชีวิตของกลุ่มชนต่างๆ  ฯลฯ  (  กำแพงเมือง  เมืองโบราณ  โครงกระดูก  นับว่าเป็นหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร )




ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ไทยจะอาศัยหลักฐานทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษร  และไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  โดยแบ่งความสำคัญของหลักฐานออกเป็น  2  กลุ่ม  คือ
           1.หลักฐานชั้นต้น  หรือ  หลักบานปฐมภูมิ (Primary  Sources )  หมายถึง  บันทึกหรือคำบอกเล่าของผู้พบเห็น  หรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์  หรือผู้ร่วมสมัยกับเหตุการณ์  จดหมายเหตุ  บันทึกการเดินทาง  หลักฐานทางโบราณคดี  แผนที่  ลายแทง  เป็นต้น
         2. หลักฐานชั้นรอง  ( Secondary  Sources )  หมายถึง  ผลงานการค้นคว้าที่เขียนขึ้น  หรือเรียบเรียงขึ้นภายหลังเกิดเหตุการณ์นั้นแล้ว โดยอาศัยหลักฐานขั้นต้นประกอบ  อาจเพิ่มเติมความคิดเห็น  หรือเหตุผลอื่นๆ ประกอบ  ส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของเอกสารต่างๆ  เช่น พงศาวดาร  ตำนาน  เป็นต้น